รายงานผลการปฏิบัติงาน











ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง เทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น


การพัฒนางานตามข้อตกลง ว PA

สําหรับพนักงานครูเทศบาลเเละบุคลากรทางการศึกษา

ตําเเหน่งครู

ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ 2567

นางอรัญญา ยอดหาญ



ข้อตกลงในการพัฒนางานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ตำแหน่ง วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ

ประจำปีงบประมาณ 2566

ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 31 มีนาคม 2567


นางอรัญญา ยอดหาญ

โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง

สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองแพร่

ข้อมูลส่วนตัวผู้รับการประเมิน

ชื่อ : นางอรัญญา ยอดหาญ

อายุ : 58 ปี อายุราชการ : 31 ปี 7 เดือน

ตำแหน่ง : ครู

วิทยฐานะ : ครูชำนาญการพิเศษ

สอนระดับชั้น : ป.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

สถานศึกษา : โรงเรียนเทศบาลวัดเหมืองแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

สังกัด : กองการศึกษาเทศบาลเมืองแพร่


ส่วนที่ ๑ :

ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงานสอน

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

จำนวน 17 ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

จำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์

-กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์ ป.2 จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

-กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนยุวกาชาด จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

-ชุมนุมยอดนักคิด จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

-แนะแนว จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์


-กลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาคณิตศาสตร์ ป.2 จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

-กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนยุวกาชาด จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

-ชุมนุมยอดนักคิด จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

-แนะแนว จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

-อังกฤษสื่อสาร 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

-อ่านเขียนภาษาไทย 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย

  • ตรวจอาหารกลางวันและตรวจสอบคุณภาพการปรุงอาหารของแม่ครัว
  • โครงการประดิษฐ์กระทงฝีมือใบตอง
  • ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 จัดทำธุระการห้องเรียน เป็นครูที่ปรึกษา ติดต่อสื่อสารผู้ปกครองทางออนไลน์
  • ปฏิบัติหน้าที่เวรประจำวันพฤหัสบดี และเวรวันหยุดราชการ

เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทางโรงเรียนและงานประเพณีต่างๆที่ทางเทศบาลจัดขึ้น



องคประกอบที่ ๑

ด้านการจัดการเรียนรู้

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

๑.๑ สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

ข้าพเจ้าดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษา สาระมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ จัดทำคำอธิบายรายวิชา ออกแบบหน่วยการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ โดยให้ครอบคลุมเนื้อหาของหลักสูตร มีการจัดทำหลักสูตรรายวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 หน่วยการเรียนรู้ ให้สอดคล้อง กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น

เอกสารอ้างอิง

  • หลักสูตรสถานศึกษา
  • หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • คำสั่งการจัดทำหลักสูตรรายวิชา
  • รายงานการวิเคราะห์หลักสูตร


E:\งานครูนุช\SAR62\งานปี66\ปกหลักสูตรคณิต.jpg
E:\งานครูนุช\SAR62\งานปี66\ปกหลักสูตรสถานศึกษา.jpg
เปิดรูปภาพ

หลักสูตรสถานศึกษา

เปิดรูปภาพ

หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

E:\งานครูนุช\SAR62\งานปี66\ร\S__79020063.jpg

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

๑.๒ ออกแบบการจัดการเรียนรู้

ข้าพเจ้าดำเนินการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวน 200 แผน 200 ชั่วโมงเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญ สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง


เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

1. หลักสูตรสถานศึกษา

2. หลักสูตรรายวิชาคณิตศาสตร์

3. แผนการจัดการเรียนรู้ / บันทึกหลังการสอน

4. รายงานการวิเคราะห์หลักสูตรรายวิชา

5. เครื่องมือในการวัดและประเมินผล

6. ภาพจริง ในระหว่างการจัดการเรียนการสอน

เปิดรูปภาพ
เปิดรูปภาพ

หลักสูตรสถานศึกษา

หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

A green book with white text on it

Description automatically generated
A group of children in a classroom

Description automatically generated

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

๑.๓ จัดกิจกรรมการเรียนรู้

ข้าพเจ้ามีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหมาะสมกับผู้เรียน สอดคล้องกับสาระมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และจุดประสงค์การเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ มีการอำนวย

ความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ โดยมีการจัดกิจกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหา ทำให้ผู้เรียนมีกระบวนการคิดและค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเอง

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • แผนการจัดการเรียนรู้ / บันทึกหลังการสอน
  • สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน / ใบงาน ใบความรู้ต่างๆ
  • ผลงานนักเรียน
  • รูปกิจกรรมการเรียนการสอน

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

๑.๔ สร้างและหรือพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้

มีการสร้างและหรือพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายให้สอดคล้องกับแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพัฒนาทักษะ

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัค

ติวิสต์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • แบบบันทึกการผลิตสื่อและนวัตกรรม
  • รายงานการใช้สื่อนวัตกรรม
  • รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
  • รูปกิจกรรมต่างๆ และอื่นๆ
  • สื่อการเรียนการสอน

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

๑.๕ วัดและประเมินผลการเรียนรู้

ไม่มีคำอธิบาย

ข้าพเจ้าดำเนินการสร้างแบบวัดและประเมินผลตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ด้วยวิธีที่หลากหลายเหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐาน

การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามสภาพจริงและวัดการคิดวิเคราะห์ วัดความรู้ (K) ด้วยแบบทดสอบแบบฝึกหัด ใบงาน วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A) ด้วยบันทึกการเข้าเรียน และบันทึกการส่งงานของนักเรียน วัดสมรรถนะ/ทักษะ (P) ด้วยแบบทดสอบ แบบฝึกหัด ใบงาน

แบบประเมินต่างๆ

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • แบบประเมินต่างๆ / ข้อสอบ /แบบทดสอบระหว่างบทเรียน
  • ผลงานนักเรียน
  • แบบบันทึกคะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

๑.๖ การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

ข้าพเจ้าได้ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ปัญหาที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้ของผู้เรียน

นำผลการจัดการเรียนรู้มาศึกษา วิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ผลคะแนนในการทดสอบ
  • รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
  • รายงานการใช้สื่อ นวัตกรรม
  • นวัตกรรมที่ผลิต สอดคล้องกับวิจัยในชั้นเรียน
A poster with a picture of a child and a picture of a school

Description automatically generated with medium confidence

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

๑.๗ จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

ข้าพเจ้าได้ดำเนินการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดห้องเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมให้

นักเรียนได้พัฒนาความรู้คุณลักษณะ และสมรรถนะสำคัญของนักเรียน ตามมาตรฐานห้องเรียนคุณภาพ

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • สื่อการเรียนการสอน / รูปกิจกรรมต่างๆ
  • แบบบันทึกการนิเทศภายใน
  • เอกสารธุรการประจำชั้นเรียน

ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้

๑.๘ อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

ข้าพเจ้าได้มีการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม โดยคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และสามารถแก้ไขปัญหาผู้เรียนได้

จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมโฮมรูม

A green book with white text on it

Description automatically generated

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รายวิชาคณิตศาสตร์
  • แบบวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล
  • รูปกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
A group of children in a hallway

Description automatically generated

องค์ประกอบที่ ๒

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

๒.๑ จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

ข้าพเจ้าได้จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 และรายวิชาคณิตศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนและผู้ปกครอง ได้แก่ ผลการประเมิน ปถ.05, ปถ.08 ,แบบวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล และคัดกรองผู้เรียนโดยใช้เครื่องมือในการวัดทักษะการคิด คำนวณ หรือคัดกรองผู้เรียนจากชิ้นงาน/ใบงาน

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

1. แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายวิชา

2. แบบวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล

3. แบบบันทึกคะแนนรายวิชา

4. แบบประเมินคุณลักษณ์อันพึงประสงค์

5. แบบประเมินอ่านคิดวิเคราะห์

6. เครื่องมือในการประเมินนักเรียน

7. รายงานการใช้หลักสูตร



A yellow clipboard with a yellow paper on it

Description automatically generated
A document with a signature

Description automatically generated

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

๒.๒ ดำเนินการตามระบบ ดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

ข้าพเจ้าได้มีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์จัดทำและใช้สารสนเทศของผู้เรียนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้วยวิธีการที่หลากหลายในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนป้องกันและแก้ปัญหาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีการออกเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามพฤติกรรมร่วมกันพัฒนากับผู้ปกครอง และงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการดูแลกำกับติดตามนักเรียน เพื่อให้การดำเนินงานตามกิจกรรมบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและแก้ปัญหาของผู้เรียน

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

1. แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน

2. รายงานการประชุมผู้ปกครองนักเรียน

3. รูปภาพเยี่ยมบ้านนักเรียน

A book with a picture of a person and a child

Description automatically generated

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

๒.๓ ปฏิบัติงานวิชาการและงานอื่นๆ ของสถานศึกษา

ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ได้แก่

1. ปฏิบัติหน้าที่ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4

2. ปฏิบัติหน้าที่ครูเวรประจำพฤหัสบดี และครูเวรวันหยุดราชการ

3. จัดทำโครงการกิจกรรมฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

อกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • คำสั่งมอบหมายงานในหน้าที่
  • งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
Two women standing in front of a stage

Description automatically generated

ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

๒.๔ ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและหรือสถานประกอบการ

ข้าพเจ้าได้ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองผ่านกลุ่มไลน์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และกลุ่มไลน์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/4 เพื่อติดตาม ติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองและผู้เรียนเพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดี เข้าร่วมประชุมโครงการสนทนาศิษย์ลูก ร่วมมือกับชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ชุมชนจัดขึ้น ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันกระทงฝีมือ ได้รับรางวัลชนะเลิศรับรางวัล 5,๐๐๐ บาท

















เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • รายงานการเยี่ยมบ้าน
  • รายงานการประชุมผู้ปกครอง
  • การประชาสัมพันธ์
  • รูปภาพกิจกรรมต่างๆ เกียรติบัตร
  • โล่รางวัล รายงานการสรุปโครงการกระทงฝีมือ

องค์ประกอบที่ ๓

ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ

๓.๑ พัฒนาตนเอง อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ข้าพเจ้ามีการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีจูเลียส ซีซาร์ เรื่อง การนับและบอกเวลา

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • รายงานการอบรม
  • ภาพถ่าย
  • เกียรติบัตร

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ

๓.๒ มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ข้าพเจ้ามีการ จัดตั้ง เข้าร่วมกลุ่ม และเป็นผู้นำเพื่อร่วมเรียนรู้ผ่านกระบวนการของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบวิธีการสอน เปิดชั้นเรียน ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ และร่วมแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • บันทึกการประชุม PLC สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง
  • ภาพถ่าย
  • เกรียติบัตร

ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพ

๓.๓ นำความรู้ความสามารถทักษะที่ได้จากการพัฒนา ตนเองและวิชาชีพมาใช้

ข้าพเจ้าได้นำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมา ใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ นำรูปแบบวิธีการการสอนที่มีการออกแบบโดยผ่านกระบวนการในกลุ่ม (PLC) มาทดลองใช้กับผู้เรียน มีการเปิดชั้นเรียนสะท้อนผล ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีวิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เป็นแบบอย่างที่ดี

เอกสาร/หลักฐานอ้างอิง

  • บันทึกการประชุม PLC สัปดาห์ละ ๒ ครั้ง
  • ภาพถ่าย
  • เกียรติบัตร

ส่วนที่ ๒ :

ระดับความสำเร็จในการพัฒนางาน

ที่เสนอเป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

ตามแนวคิดทฤษฎีจูเลียส ซีซาร์ เรื่องการนับและบอกเวลาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1. ศึกษาวิเคราะห์และทำความเข้าใจทฤษฎี หลักการแนวคิด ตัวอย่างวิธีการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างการจัดกิจกรรม เครื่องมือในการวัดทักษะการคิดคำนวณ ตัวอย่างแบบฝึกที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริม พัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหา

2. ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้ นำตัวอย่างเทคนิคและวิธีการสอนกิจกรรมและแบบฝึกหัดการคิดคำนวณและการแก้ปัญหา ไปบูรณาการในแผนการจัดการเรียนรู้ โดยได้ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีของจูเลียส ซีซาร์ เรื่องการนับและบอกเวลา

3. นำแผนการจัดกิจกรรมไปทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มทดลอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

4. ปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้เรื่องการนับและบอกเวลา

5. จัดทำรายงานการทดลองใช้กับกลุ่มทดลองและนำเสนอแผนการจัดการเรียนการสอนผ่านการปรับปรุงจนเป็นแผนการจัดการเรียนการสอนที่ดีที่สุด

6. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงจนได้แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีที่สุดแล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง

7. สะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

8. ประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ประเมินผลทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ใช้การสังเกต สัมภาษณ์

ตรวจผลงาน / ใบงาน/ชิ้นงาน ทดสอบ แฟ้มสะสมผลงาน แบบบันทึกหลังแผนการจัดการเรียนรู้





แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

เรื่อง การนับเวลาและบอกเวลา

Simple Laptop Frame

ขอบพระคุณคณะกรรมการการประเมิน

การปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสายงานการสอน

ตำแหน่ง วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ